วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ทรัพยสินใดบ้างที่สามารถนำมาจำนองได้ (ละเอียดนิดนึง)


ทรัพย์สินที่จำนองได้
LSPK Law Center
ทรัพย์สินใดบ้างที่สามารถนำมาจำนองได้ ?
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ ๑๒ จำนอง หมวดที่ ๑ หลักทั่วไป
                มาตรา ๗๐๓  อันอสังหาริมทรัพย์นั้นอาจจำนองได้ไม่ว่าประเภทใด ๆ
            สังหาริมทรัพย์อันจะกล่าวต่อไปนี้ก็อาจจำนองได้ดุจกัน หากว่าได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย คือ
(๑)   เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
(๒)  แพ
(๓)   สัตว์พาหนะ
(๔)  สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ
ดังนั้นทรัพย์สินที่สามารถนำมาจำนองได้จึงจำแนกได้เป็น ๒ ประเภทคือ
๑.      อสังหาริมทรัพย์
๒.      สังหาริมทรัพย์บางประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
อสังหาริมทรัพย์
            มาตรา ๑๓๙  อสังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับที่ดิน หรือทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย
            อสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา ๑๓๙ นั้นสามารถจำแนกได้เป็น
๑.     
หลักการจำ : ที่ดิน ,ทรัพย์ติดฯ , ทรัพย์ประกอบฯ  และ ทรัพยสิทธิฯ นะครับ
 
ที่ดิน
๒.      ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็นการถาวร      
๓.      ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน
๔.      ทรัพยสิทธิเหนือ ๑,๒,๓

 “ที่ดิน” สามารถจำแนกได้ออกเป็น
๑.      ที่ดินมีโฉนด (ตระกูลโฉนดคือ ที่ดินมีโฉนด (น.ส. ๔) ,ที่ดินมีโฉนดแผนที่,ที่ดินมีโฉนดตราจอง ,ที่ดินมีตราจองว่าได้ทำประโยชน์แล้ว)
๒.      ที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครอง
                สำหรับที่ดินตระกูลโฉนดนั้นไม่มีปัญหาเพราะสามารถจำนองได้ โดยนำโฉนดไปจดทะเบียนจำนอง ปัญหาว่าที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครองจะจำนองได้หรือไม่ ?
                พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา ๙ บัญญัติว่า “ที่ดินที่ได้รับคำรับรองจากนายอำเภอ ว่าได้ทำประโยชน์แล้วให้โอนกันได้”  จากผลของมาตรานี้ทำให้ที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่านั้นที่จะทะเบียนจำนองได้ ดังนั้นที่ดินที่จำนองได้ต้องเป็นที่ดินที่มีโฉนด หรือ น.ส.๓[1]
                สำหรับทรัพย์ติดกับทีดินมีลักษณะเป็นการถาวร เช่น ตึก บ้าน โรงเรือน ก็อาจจำนองได้แม้ว่าจะไม่มีทะเบียนกรรมสิทธิ์เหมือนที่ดินก็ตาม[2]
                สำหรับทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์ติดนั้นต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป เพราะทรัพยสิทธิที่จำนองได้ต้องเป็นทรัพยสิทธิที่ไม่มีลักษณะเป็นการเฉพาะตัว กล่าวคือสามารถโอนให้แก่กันได้ เพราะหากจำนองทรัพย์สินที่ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้เมื่อมีความจำเป็นต้องบังคับจำนองก็ไม่อาจขายทอดตลาดทรัพย์สินเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ สิทธิอาศัยตามมาตรา ๑๔๐๔ และภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา ๑๔๓๑ ไม่สามารถนำมาจำนองได้
ปัญหาว่าสิทธิการเช่าสามารถนำมาจำนองได้หรือไม่ ?
                                มาตรา ๑๒๙๘ บัญญัติว่า “ทรัพยสิทธิทั้งหลายนั้น ท่านว่าจะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
                สิทธิการเช่าเป็นสิทธิที่เกิดจากสัญญาตามมาตรา ๕๓๗  ซึ่งบัญญัติว่า “อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น”  ดังนั้นโดยสภาพสิทธิการเช่าจึงไม่ใช่ทรัพยสิทธิจึงนำมาจำนองไม่ได้ แม้มาตรา ๕๖๙[3] จะบัญญัติว่าให้สิทธิการเช่าไม่ระงับแม้จะมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งให้เช่าก็ตาม และอีกประการหนึ่งคือสิทธิการเช่ามีลักษณะเป็นการเฉพาะตัวหากไม่ได้ตกลงกันเอาไว้ผู้เช่าจะนำทรัพย์ดังกล่าวไปให้เช่าช่วงหาได้ไม่[4]
                แต่ตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ..๒๕๔๒ มาตรา ๖ ให้นำสิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไปจำนองประกันการชำระหนี้ได้ กรณีนี้มีความเห็นของกรมที่ดินดังนี้
เรื่องที่ ๑๑         ขอจดทะเบียนจำนองสิทธิการเช่า                                           สารบบ   จังหวัด  ๑๐๘๑๘
เจ้าของเรื่อง
     กลุ่มพิจารณาปัญหาข้อหารือและร้องเรียน    ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนฯ
ประเด็นปัญหา
  สิทธิการเช่าที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยซึ่งได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  สามารถนำไปจดทะเบียนจำนองได้หรือไม่
ข้อกฎหมาย
  ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา  ๑๓๙๗๐๓  และ  ๑๒๙๘
                     ประมวลกฎหมายที่ดิน  มาตรา  ๗๑
ความเห็นกรมที่ดิน
    ทรัพย์สินที่สามารถนำไปจำนองได้นั้น  ได้แก่  อสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าประเภทใด ๆ และสังหาริมทรัพย์บางอย่างตามที่ระบุไว้ในมาตรา  ๗๐๓  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  แต่ทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๗๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  จะต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น  และตามมาตรา  ๑๓๙  แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า อสังหาริมทรัพย์”  ไว้ว่าหมายถึง ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินที่มีลักษณะเป็นการถาวรหรือประกอบเป็น อันเดียวกับที่ดินนั้น  และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือทรัพย์อันติดอยู่กับ ที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย  ซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินที่จะถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้อง ก่อตั้งขึ้นโดยกฎหมายเท่านั้น  บุคคลจะก่อตั้งขึ้นเองโดยนิติกรรมไม่ได้ตามนัยมาตรา ๑๒๙๘ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่สิทธิการเช่าเป็นสิทธิซึ่งเกิดจากสัญญา  ที่ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้  หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่ว ระยะเวลาอันมีจำกัด   และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น  (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา  ๕๓๗เป็นสิทธิที่บังคับเอาแก่บุคคลให้กระทำการ  หรือมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งมิได้มุ่งถึงตัวทรัพย์สินที่เช่า   สิทธิการเช่าจึงเป็น บุคคลสิทธิ มิใช่ทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินที่ถือว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่จะนำไปจด ทะเบียนจำนองได้  เว้นแต่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ เช่น  พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม  .๒๕๔๒   มาตรา     ที่บัญญัติให้สิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ สามารถนำไปจดทะเบียนจำนองได้  ดังนั้น  พนักงานเจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถรับจดทะเบียนจำนองสิทธิการเช่าที่ดินที่ได้จดทะเบียนสิทธิการเช่าไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้  
กลุ่มพิจารณาปัญหาข้อหารือและร้องเรียน
ส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
  สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน
กุมภาพันธ์
  ๒๕๔๘
สังหาริมทรัพย์
            มาตรา ๑๔๐  สังหาริมทรัพย์ หมายความว่า ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความรวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย
                สังหาริมทรัพย์โดยทั่วไปไม่สามารถนำมาจำนองได้ เว้นแต่จะเป็นสังหาริมทรัพย์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๗๐๓ วรรคสอง อันได้แก่ เรือ แพ สัตว์พาหนะ และสังหาริมทรัพย์อื่นซึ่งกฎหมายบัญญัติให้จดทะเบียนเฉพาะการ
                “เรือ” ต้องเป็นเรือที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติเรือไทย
                “แพ” คือแพที่มีคนอยู่อาศัย
                “สัตว์พาหนะ” มี ๖ ชนิด ตามพระราชบัญญัติสัตว์พาหนะ พ.ศ. ๒๔๘๒ อันได้แก่ ช้าง ม้า โค กระบือ ลา ล่อ
                ซึ่งทั้งเรือ แพ และสัตว์พาหนะที่กล่าวมาข้างต้นจะจำนองได้ต้องปรากฏว่าได้มีการจดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย (วรรคสอง ตอนท้าย)
                “สังหาริมทรัพย์ที่ให้จดทะเบียนเฉพาะการ” ปัจจุบันได้แก่ เครื่องบิน ตามพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๔๙๗,  เครื่องจักร ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนเครื่องจักร พ.ศ. ๒๕๑๔  และรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๕๑  และที่สำคัญดังที่กล่าวมาแล้วคือสิทธิการเช่าซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งตามมาตรา ๑๔๐ ก็สามารถนำมาจำนองได้เช่นกัน
ข้อสังเกต
            การจดทะเบียนบางอย่างไม่ใช่ทะเบียนกรรมสิทธิ์หรือทะเบียนเฉพาะการเช่น การจดทะเบียนอาวุธปืน ซึ่งเป็นเพียงทะเบียนควบคุม หรือการจดทะเบียนสมรสที่เป็นเพียงการแสดงถึงความเป็นสามีภริยา ดังนั้นจึงนำภริยาไปจำนองเพื่อให้เขานำไปขายทอดตลาดไม่ได้นะครับ แม้จะมีทะเบียนสมรสก็ตาม ( ฮ่า ๆ  เล่นเอา ฮา )










สรุปสาระสำคัญ
ทรัพย์สินที่อาจจำนองได้มีดังนี้
Ø อสังหาริมทรัพย์
·        ที่ดินโฉนด
·        ที่ดิน น.ส.๓
Ø สังหาริมทรัพย์
·        สังหาริมทรัพย์บางประเภท
o เรือระวางห้าตันขึ้นไป
o แพ
o สัตว์พาหนะ
·        สังหาริมทรัพย์จดทะเบียนเฉพาะการ
o เครื่องบิน
o เครื่องจักร
o รถยนต์
·        สิทธิการเช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ..๒๕๔๒

 
 






[1] ปัญญา  ถนอมรอด, คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ, สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา : กรุงเทพมหานคร, ๒๕๕๔ หน้า ๒๒๒
[2] เพิ่งอ้าง, หน้า ๒๒๒
[3] มาตรา ๕๖๙ อันสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่ระงับไป เพราะเหตุโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่า

[4] มาตรา ๕๔๔ ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงหรือโอนสิทธิของตนอันมีในทรัพย์สินนั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนให้แก่บุคคลภายนอก ท่านว่าหาอาจทำได้ไม่ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า




โหลดไฟล์ PDF ได้ที่  http://www.mediafire.com/view/?bmpietz7xrqxoy6

1 ความคิดเห็น: