หลักการเรียนรู้ ป.วิ.อ. จากคำพิพากษาศาลฎีกา
บทความวิเคราะห์คำพิพากษาศาลฎีกานี้ แอดมินได้นำมาจาก เพจของ อ.ประยุทธ
ศึกษากรณีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653/2554
ข้อเท็จจริง
1.
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2542
เวลากลางวัน จำเลยกับพวกที่ยังหลบหนีอีก 1 คน ร่วมกันใช้มีดปังตอ 1 เล่มเป็นอาวุธฟันนายนง ผู้เสียหายหลายครั้งถูกบริเวณศีรษะมีบาดแผลหลายแห่งจำเลยกับพวกลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผลเนื่องจากมีผู้เข้ามาช่วยเหลือผู้เสียหายได้ทันประกอบกับบาดแผลของผู้เสียหายไม่ฉกรรจ์ผู้เสียหายจึงไม่ถึงแก่ความตายแต่เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายขอให้ลงโทษตาม
ป.อ. มาตรา 288, 80, 83
1.1
คดีนี้ อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง
หลักอัยการจะมีอำนาจฟ้องหรือไม่เป็นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาลโดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน
เมื่ออัยการยื่นฟ้องมาเช่นนี้แสดงว่าได้ผ่านการสอบสวนมาโดยชอบแล้วและในทางปฏิบัติคำฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์มักจะมีข้อความในคำฟ้องว่า
พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้วเสมอ
1.2
คำฟ้องของพนักงานอัยการต้องเป็นไปตามหลัก
ป.วิ.อ. มาตรา 158(5),(6),(7)
1.3
ในวันที่พนักงานอัยการนำคำฟ้องมายื่นต่อศาลต้องนำตัวผู้ต้องหามาพร้อมกับคำฟ้องเสมอเว้นแต่
ผู้ต้องหาอยู่ในอำนาจศาลแล้ว เช่น ฝากขังไว้ตั้งแต่ชั้นสอบสวนหรือศาลให้ประกันตัวไปกรณีเช่นนี้ไม่ต้องนำตัวผู้ต้องหามาพร้อมกับคำฟ้อง
1.4
ในทางปฏิบัติเมื่อพนักงานอัยการยื่นฟ้องและนำตัวผู้ต้องหามาส่งศาลพร้อมกับคำฟ้องแล้วศาลจะสั่งคำฟ้องของอัยการว่า
“ประทับฟ้องหมายขัง” แต่ถ้าผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวไปจากศาลในชั้นสอบสวนศาลจะสั่งคำฟ้องของอัยการว่า
“ประทับฟ้องหมายนัดผู้ประกันส่งตัวจำเลย” การสั่งเช่นนี้ผู้พิพากษาคนเดียวสามารถลงชื่อในการประทับฟ้องได้เลยตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
มาตรา 24
1.5
ถ้าปรากฏในวันประทับฟ้อง
อัยการได้ส่งตัวจำเลยต่อศาลแล้วและจำเลยอยู่ต่อหน้าศาล ศาลจะดำเนินการตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 173 คือสอบถามเรื่องทนายจำเลยก่อน
ถ้าจำเลยแถลงว่ามีทนายความเรียบร้อยแล้วหรือไม่มีแต่จำเลยไม่ต้องการ
ตามมาตรา 173 วรรคสอง ศาลก็จะอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟัง
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172
และถามจำเลยว่าจะให้การอย่างไร
1.6
คดีนี้
ศาลถามคำให้การจำเลยแล้วปรากฏว่าจำเลยให้การปฏิเสธ
ในทางปฏิบัติศาลก็จะให้จำเลยลงชื่อในคำให้การปฏิเสธและดำเนินการต่อไป
2.
ระหว่างการพิจารณาคดีนี้ นาย น.
ผู้เสียหายขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยการ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ซึ่งต้องกระทำก่อนศาลชั้นต้นพิพากษา
2.1
ผู้เสียหายผู้จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับอัยการนั้น
อาจเป็นผู้เสียหายแท้จริงหรือผู้เสียหายประเภทจัดการแทนก็ได้ การขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตามมาตรา 30 ต้องทำเป็นคำร้อง
2.2
ศาลจะสั่งคำร้องของผู้เสียหายทำนองว่า
“สำเนาคำร้องขอเป็นโจทก์ร่วมฉบับนี้ให้อัยการโจทก์และจำเลยและศาลจะสอบถามอัยการโจทก์ว่าผู้ร้องเป็นผู้เสียหายจริงหรือไม่
และสอบถามจำเลยว่าจะค้านหรือไม่” จากนั้นศาลก็จะสั่งอนุญาตให้ผู้เสียหายเข้าเป็นโจทก์ร่วม
โดยศาลจะพิจารณาข้อหาตามที่โจทก์ฟ้องว่าข้อหาใดบ้างที่เป็นโจทก์ร่วมได้
3.
หลังจากสืบพยานทุกฝ่ายเสร็จแล้วศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80, 83 ให้จำคุก 10 ปี
4.
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว จำเลยอุทธรณ์โดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน
1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาให้จำเลยฟัง ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 198 และให้ผู้ศึกษาพิจารณา มาตรา 193 ทวิ ซี่งจำเลยสามารถอุทธรณ์ข้อเท็จจริงและนอกจากนี้โจทก์ก็ยังสามารถอุทธรณ์ได้หากคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เป็นที่พอใจของโจทก์
แต่คดีนี้ ปรากฏว่าจำเลยแต่ผู้เดียวอุทธรณ์ว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิด
4.1
ในทางปฏิบัติศาลจะสั่งอุทธรณ์ของจำเลยในทำนองว่า
“รับอุทธรณ์ของจำเลย สำเนาให้โจทก์ โจทก์ร่วม
แก้ภายในกำหนด 15 วันนับแต่วันรับสำเนาอุทธรณ์
5.
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากศาลชั้นต้นเป็นว่า
จำเลยมีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 295,
83 ให้จำคุก 1 ปี
5.1
ผลของการมีคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เช่นนี้
จะเกิดหลักกฎหมายตาม ป.วิ.อ. ดังต่อไปนี้
(1)
จะเห็นว่าในคำฟ้อง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 288 ประกอบมาตรา 80
(พยายามฆ่า)ไม่ได้ขอให้ลงโทษตามมาตรา
295 ปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา
295 (ทำร้ายร่างกาย) ซึ่งศาลอุทธรณ์สามารถลงโทษได้ตาม
ปวิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เพราะความผิดฐานพยายามฆ่าคนรวมการกระทำอันเป็นการทำร้ายอยู่ด้วย
(2)
ส่งผลต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ซึ่งมาตรานี้หลักกฎหมายให้ดูเฉพาะคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าลงโทษอย่างไร
เมื่อเปรียบเทียบกับคำพิพากษาศาลชั้น ต้นซึ่งลงโทษตามมาตรา 288
ประกอบมาตรา 80 จำคุก 10
ปี แต่ศาลอุทธรณ์ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 295 จำคุก 1 ปี ต้องถือว่าศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นมากเพราะแก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษ
คู่ความจึงฎีกาข้อเท็จจริงได้ แต่อย่างไรก็ตามแม้จะฎีกาข้อเท็จจริงได้ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา 218 แล้ว แต่จะฎีกาข้อเท็จจริงได้
ข้อเท็จจริงนั้นจะต้อว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 249 ประกอบมาตรา 15 (ให้ระมัดระวังจุดนี้ให้ดี)
6.
ในชั้นฎีกา ศาลฎีกาได้วินิจฉัยดังนี้
6.1
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยประเด็นแรกว่า
จำเลยได้กระทำความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าตามฟ้องหรือไม่
ซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าการที่จำเลยใช้อาวุธมีดปังต่อฟันที่ศีรษะโจทก์ร่วมทำให้เกิดบาดแผลขอบเรียบ
2 แผลที่ศีรษะมีเลือดซึมแม้ลึกถึงกระโหลกศีรษะแต่กระโหลกไม่ยุบแผลไม่ฉกรรจ์เย็บประมาณ
11 เข็ม โจทก์ร่วมสามารถไปแจ้งความก่อนจะไปโรงพยาบาลแพทย์ผู้ตรวจเบิกความว่าบาดแผลไม่ร้ายแรงถึงกับทำให้ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิตทันทีใช้เวลารับกษา
10-14 วัน ประกอบกับจำเลยถามหา นาย ป. และพูดว่า “ฝากไอ้นี่ไปด้วย”)
แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าให้ตายและที่พูดขณะฟันว่า
“เอาแม่งมันให้ตายเลย” ก็คงเป็นการพูดคะนองปากไปโดยมิได้มีเจตนาให้เกิดผลจริงจังอย่างที่พูด
ลักษณะบาดแผลไม่รุนแรง ทั้ง415/2515415/2515ไม่ปรากฏมูลเหตุที่ต้องถึงกับเอาชีวิตกัน
ฟังได้ว่าจำเลยมีเจตนาทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมเท่านั้น จึงได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
หมายเหตุ
ประเด็นของคดีนี้ในส่วนเกี่ยวกับประมวลกฎหมายอาญาให้พิจารณาศึกษาจากฎีกาต่อไปนี้
ฎีกา
415/2515 จำเลยใช้มีดโต้ปลายมน มีคมข้างเดียวใช้ฟันได้อย่างเดียว
ขนาดตัวมีดยาว 10 นิ้วฟุต ด้ามมีดยาว 4 นิ้วฟุตวิ่งเข้าไปทางด้านหลังฟันถูกศีรษะผู้เสียหาย 1 ทีเกิดบาดแผลยาว 2 เซนติเมตรลึกจดกระโหลกศีรษะ
กระโหลกศีรษะไม่ร้าวหรือแตก แสดงว่าฟันไม่เต็มแรงและถูกหน้ามีดเพียงเล็กน้อย
ผู้เสียหายรักษาบาดแผล 25
วันหาย
แม้จะได้ความว่าฟันแล้วผู้เสียหายวิ่งหนี จำเลยวิ่งไล่ตามไป
แต่จำเลยไม่ได้ทำร้ายผู้เสียหายอีก ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่า
จำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย
ฎีกา
2155/2530
การที่จำเลยชักมีดปลายแหลมยาวทั้งตัวด้ามประมาณ
1 ศอกออกมาแล้วพูดขึ้นว่า'มึงตายเสียเถอะ'จะถือเอาเป็นจริงจังตามคำพูดนั้นไม่ได้
ต้องดูพฤติการณ์อื่นที่เกิดขึ้นประกอบด้วยฉะนั้นแม้จำเลยจะใช้มีดแทง
ส.และท. ก็ตามแต่จำเลยก็หาได้พยายามที่จะทำให้บุคคลทั้งสองได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย
ทั้ง ๆ ที่จำเลยมีโอกาสจะกระทำได้ เพราะเมื่อคนทั้งสองล้มแล้ว
จำเลยก็มิได้แทงซ้ำเติมแต่อย่างใดและลักษณะบาดแผลที่คนทั้งสองได้รับก็ไม่มีลักษณะฉกรรจ์พฤติการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวประกอบกับที่ต่อมาจำเลยได้ไล่แทง
ฉ.แต่ฉ.หลบหนีไปได้ เพียงเท่านี้ยังไม่พอฟังว่าจำเลยมีเจตนาฆ่า
คงเป็นเพียงทำร้ายร่างกาย ส.และท. และพยายามทำร้ายร่างกายฉ.
เท่านั้น.(ที่มา-ส่งเสริม)
ฎีกา
218/2525 จำเลยใช้ดุ้นฟืนยาว 1 ศอก ตีศีรษะผู้ตาย 2 ทีจนกะโหลกศีรษะผู้ตายแตกยุบถึงมันสมอง
เป็นการตีโดยแรงที่อวัยวะสำคัญเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายทันที
ดังนี้จำเลยมีเจตนาฆ่า
ฎีกา2058/2514 จำเลยใช้ไม้ไผ่ตันเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้วฟุต ยาวประมาณ1 หลา ซึ่งเป็นไม้แข็งใช้หาบน้ำแข็ง
เลือกตีผู้ตายที่ศีรษะด้านหลัง 1 ทีผู้ตายถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา
แม้จะตีเพียงทีเดียวก็เป็นการฆ่าคนโดยเจตนา
ที่มา : ทบทวนหลักกฏหมายกับอาจารย์ประยุทธ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น