บันทึกคำบรรยายเนติบัณฑิตยสภา
ภาคสอง สมัย ๖๕
วิชากฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ภาคสอง (ปกติ)
บรรยายโดย ศ.สมชาย
พงษธา
วันที่
๒๕ มกราคม ๒๕๕๖
ฟ้องซ้อน
(ต่อ)
หลักเกณฑ์ข้อที่
๒ โจทก์ยื่นฟ้องต่อคู่ความเดียวกัน
คู่ความทั้งสองฝ่ายทั้งคดีก่อนและคดีหลังต้องมีฐานะเดียวกัน
คือต้องเป็นโจทก์คนเดิม ฟ้องจำเลยคนเดิม ดังนั้นหากจำเลยเคยใช้สิทธิฟ้องแย้ง
ถือว่าจำเลยเป็นโจทก์ในคดีฟ้องแย้ง
ดังนั้นจะมาฟ้องคดีใหม่ในเรื่องเดียวกันอีกไม่ได้เพราะจะเป็นฟ้องซ้อน พึงสังเกตว่า
กฎหมายห้ามโจทก์เดิมเท่านั้น ไม่ได้ห้ามจำเลยด้วย และหากโจทก์คนละคน
คนละฐานะก็ไม่เป็นฟ้องซ้อนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๖๘-๑๙๖๙/๒๕๒๙ โจทก์ที่1และโจทก์ที่2เป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันโดยยังมิได้แบ่งแยกเป็น
หลายโฉนดเพราะอยู่ในระหว่างการรังวัดแบ่งแยกของเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้น โจทก์ที่1จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ที่1ต่อมา เจ้าพนักงานที่ดินได้แบ่งแยกออกโฉนดที่ดินส่วนของโจทก์ที่2ให้แก่โจทก์ ที่2ปรากฏว่าที่พิพาทและบ้านของจำเลยส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ที่2โจทก์ ที่2จึงฟ้องจำเลยหลังจากได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วและปรากฏว่าที่พิพาทบางส่วน
อยู่ในโฉนดของโจทก์ที่1บางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่2โจทก์ทั้งสองต่างมี สิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ฟ้องของโจทก์ที่2จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173. โจทก์ที่2ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์ที่2ตาม พินัยกรรมและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์ที่2โดยละเมิด กรณีมิใช่ฟ้องเรียกที่พิพาทตามข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งจำเลยก็มิใช่บุคคลที่
จะยกอายุความ1ปีขึ้นต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755แม้ โจทก์ที่2จะฟ้องคดีเกิน1ปีหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมคดีของโจทก์ที่2ก็ไม่ ขาดอายุความ.
แยกพิจารณาได้ดังนี้
-
ที่ดินเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์รวมกันของโจทก์ที่
๑ และโจทก์ที่ ๒
-
ต่อมาได้มีการรางวัดออกโฉนด
แบ่งกรรมสิทธิ์กันอย่างชัดเจน
-
โจทก์ที่ ๑ ได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินส่วนของโจทก์ที่
๑
-
ต่อมาโจทก์ที่ ๒
ได้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินส่วนที่ ๒
ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้อน
เพราะเป็นการอาศัยสิทธิคนละสิทธิกัน ไม่ได้เป็นสิทธิเดียวกัน และโจทก์ก็คนละคนกัน
คดีที่มีจำเลยหลายคน
ต้องพิจารณาจำเลยเป็นคน
ๆ ไป เพราะคดีไม่จำเป็นต้องเป็นฟ้องซ้อนทั้งคดีอาจเป็นฟ้องซ้อนเฉพาะจำเลยบางคนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๘๗๕/๒๕๒๕ คดีนี้โจทก์บรรยายสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่
3
และที่ 4 อย่างเดียวกับที่ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองไว้ในคดีก่อน
จึงเป็นคำฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา173(1)
ส่วนจำเลยที่ 1และที่ 2 โจทก์มิได้ฟ้องในคดีก่อนด้วยไม่ถือเป็นฟ้องซ้อนโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่
1 และที่ 2 เป็นคดีนี้ได้
แยกพิจารณาดังนี้
-
โจทก์ฟ้อง ก. และ ข.
ไว้แล้วเป็นคดีที่ ๑
-
ต่อมาระหว่างคดีที่ ๑
อยู่ในระหว่างพิจารณาโจทก์ได้ฟ้อง ก. ข. ค. และ ง. เป็นคดีที่ ๒ ในเรื่องเดิม
-
ศาลตัดสินว่า
ฟ้องในส่วน ก. ข. เป็นฟ้องซ้อน ต้องยกฟ้อง สำหรับ ค. ง. ไม่เป็นฟ้องซ้อน
โจทก์สามารถฟ้องได้
กรณีลูกหนี้ร่วม
มาตรา ๒๙๑
(ป.พ.พ.) ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้
แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว
(กล่าวคือเป็นลูกหนี้ร่วมกัน) ก็ดี
เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่ส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก
แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง
หลักหนี้ร่วมตามมาตรา
๒๙๑
-
โจทก์จะฟ้องลูกหนี้ทุกคนก็ได้
-
โจทก์จะฟ้องลูกหนี้คนใดคนหนึ่งก็ได้
-
ลูกหนี้ทุกคนยังคงต้องรับผิดในหนี้นั้นอยู่
ดังนั้น
จึงไม่มีทางเป็นฟ้องซ้อนเนื่องจากแม้โจทก์จะเป็นคนเดียวกัน
แต่จำเลยย่อมเป็นคนละคนไม่ได้อ้างอิงสิทธิซึ่งกันและกันแต่อย่างใด
เพราะกฎหมายตามมาตรา ๒๙๑ ให้อำนาจโจทก์ที่จะฟ้องลูกหนี้ทุกคนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๖๓๑/๒๕๕๒
(เทียบเคียงการฟ้องซ้ำ) สามีจำเลยกู้เงินโจทก์
จำเลยลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้ ถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว
หนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามีจำเลยและจำเลย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4) โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องลูกหนี้ทุกคนพร้อมกันให้ชำระหนี้เป็น ส่วนๆ
หรือจะฟ้องลูกหนี้ทีละคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนก็ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291
โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีก่อนให้ร่วมกับสามีชำระหนี้เงิน
กู้แก่โจทก์ด้วย จำเลยคดีนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคู่ความเดียวกันกับจำเลยในคดีก่อน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์นำสัญญากู้ยืมฟ้องสามีจำเลยให้ชำระหนี้เงินกู้
โจทก์กับสามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลมีคำพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุด ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความทำให้สิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินสิ้นสุด
ไป โจทก์ถือสิทธิใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 การที่สามีจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ จำเลยไม่ได้ร่วมทำสัญญาด้วย
จึงไม่มีผลผูกพันจำเลย เมื่อจำเลยไม่ใช่คู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญากับโจทก์
สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมไม่ผูกพันจำเลยเพราะไม่ใช่คู่ ความในคดีดังกล่าว
โจทก์ไม่สามารถนำสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมาฟ้องจำเลยให้รับผิดได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นได้ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบ 264 และ 247
แยกพิจารณาได้ดังนี้
-
สามีและภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา
๑๔๙๐ ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันโดยสิ้นเชิง
-
คดีที่ ๑
โจทก์ฟ้องสามีจำเลยเพียงคนเดียว โดยไม่ได้ฟ้องจำเลยด้วย
-
คดีหลัง
โจทก์คนเดิมได้ฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีเนื้อความเดียวกัน
-
ศาลวินิจฉัยว่า
สามีจำเลยกับจำเลยเป็นคนละคนกันไม่เป็นฟ้องซ้ำ
การเป็นโจทก์-จำเลย
ในสองคดีเป็นคนเดียวกันหรือไม่ ?
ชื่อเดียวกัน
ต้องดูถึงฐานะหรือสิทธิด้วยว่า เป็นฐานเดียวกันหรือไม่ตามมาตรา ๕๕ ป.พ.พ.
กรณีศึกษา
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากผู้อื่น
– เป็นการทำแทนบุคคลอื่น ไม่ใช่ฐานของตัวเอง ดังนั้นหากอีกคดีฟ้องในนามของตนเอง
จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน เพราะไม่ใช่โจทก์คนเดียวกัน (ฎ.๖๔๑/๒๕๓๘)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๔๑/๒๕๓๘ คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่โจทก์เข้าไปก่อสร้างอาคาร
เพื่อรับเงินช่วยค่าก่อสร้างจากผู้เช่าอาคารขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการ เช่ากับผู้จองเช่าอาคารส่วนคดีซึ่งจำเลยอ้างนั้นโจทก์รับมอบอำนาจจากผู้จอง
เช่าอาคารฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนการเช่าโจทก์คดีนี้กับคดีที่ ผู้จองเช่าอาคารเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยนั้นต่างกันด้วยฐานะบุคคลและฐานะสิทธิก็
แยกแตกต่างกันจึงมิใช่โจทก์เดียวกันตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งมาตรา173(1) ส่วนคำขอบังคับท้ายฟ้องแม้จะเหมือนกันแต่ในชั้น บังคับคดีย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งไม่อาจบังคับซ้ำซ้อนกันอยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๙๒๐/๒๕๓๗ คดีแพ่งหมายเลขดำที่ 302/2530 ของศาลชั้นต้นเป็นคดีที่
ส.ในฐานะส่วนตัวเป็นโจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่คดีที่ ส.ฟ้องจำเลยในฐานะที่
ส.เป็นผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เช่นในคดีนี้ โจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่โจทก์คนเดียวกันกับโจทก์ในคดีแพ่งหมายเลขดำที่
302/2530 ของศาลชั้นต้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าวตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
พิจารณาต่อนะครับ
๑.
ฐานะที่สองเป็นฐานะตัวแทนนิติบุคคล
ถือเป็นคนละคนกับในนามส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๗๔/๒๕๕๔
(หาไม่เจอ)
มูลคดีเป็นเรื่องเดียวกัน
แต่คดีก่อนโจทก์ฟ้องในฐานะส่วนตัว แต่คดีนี้ฟ้องในฐานะเป็นตัวแทนของโจทก์
ดังนั้นจึงเป็นโจทก์คนละคนกัน กล่าวคือ คดีแรกฐานะส่วนตัว คดีที่สองฐานะตัวแทน
๒.
ผู้ใช้อำนาจปกครองของผู้เยาว์
มาตรา ๑๕๖๙ ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร
ในกรณีที่บุตรถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
ผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี
มาตรา
๑๕๗๑ อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย และให้จัดการทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๐๑๐/๒๕๕๑ กรณีจะเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 148
นั้น คู่ความทั้งสองคดีต้องเป็นคู่ความเดียวกัน เมื่อคดีก่อน
ก. เป็นโจทก์มีโจทก์คดีนี้เป็นผู้ฟ้องแทนในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ก. ผู้เยาว์ แต่คดีโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัวในฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอม
ความ มิใช่คู่ความเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
บันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายที่จำเลยกระทำละเมิดต่ออำนาจปกครองของโจทก์โดย
พรากผู้เยาว์ไปจากโจทก์ ไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าคู่กรณีประสงค์จะระงับคดีอาญาที่เป็นความผิดต่อ
แผ่นดิน สัญญาประนีประนอมยอมความตามบันทึกดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบ
ร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนอันจะเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150
แยกพิจารณา
·
คดีที่ ๑
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรม –โจทก์คือผู้เยาว์
·
คดีที่ ๒
โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัว ฐานะเป็นคู่สัญญาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ—โจทก์คือผู้แทนฯ
·
ศาลบอกว่า
เป็นคู่ความคนละคนกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
กรณีผู้แทนมรณะระหว่างพิจารณา
มาตรา ๔๒ ถ้าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งในคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลได้มรณะเสียก่อนศาลพิพากษาคดี
ให้ศาลเลื่อนการนั่งพิจารณาไปจนกว่าทายาทของผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะ
หรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ จะได้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ...
การเข้าไปตามมาตรา ๔๒
ไม่ได้เข้าไปในนามส่วนตัว แต่เข้าไปในฐานะผู้แทนผู้มรณะ
ดังนั้นหากคู่ความฝ่ายตรงข้ามชนะจะบังคับคดีเอากับผู้เข้าไปแทนที่ไม่ได้
ต้องบังคับเอากับกองมรดกเท่านั้น
ดังนั้น
หากมาฟ้องจำเลยเดิมเป็นอีกคดีต่างหาก จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน เพราะคู่ความคนละคนกัน
ตัวอย่าง ก. ฟ้อง ข. ให้รับผิด
ระหว่างพิจารณา ก. ได้มรณะลง ค.
ได้เข้ามาแทนที่ ก. คู่ความซึ่งมรณะ ระหว่างพิจารณา ค. ใช้สิทธิส่วนตัวฟ้อง ข.
ให้รับผิดในข้อหาเดียวกัน ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อนเพราะคู่ความมีฐานะต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๐๕๑/๒๕๑๖ เดิมจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องบิดาโจทก์เป็นจำเลย อ้างว่าบิดาโจทก์อาศัยปลูกเรือนและรั้วในที่ดินของจำเลย
ขอให้บิดาโจทก์รื้อสิ่งปลูกสร้างออกไป บิดาโจทก์ต่อสู้ว่าปลูกสร้างในที่ดินของตนเอง
ศาลล่างพิพากษาให้บิดาโจทก์แพ้คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จึงมาฟ้องคดีนี้อ้างว่าได้กรรมสิทธิ์ที่ดินส่วนหนึ่งของจำเลยโดยการ
ครอบครองปรปักษ์ ประเด็นในคดีก่อนมีว่าสิ่งปลูกสร้างของบิดาโจทก์อยู่ในที่ดินของจำเลยหรือ
ไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์ครอบครองที่ดินของจำเลยโดยปรปักษ์หรือไม่อัน เป็นประเด็นคนละอย่างต่างกัน
ทั้งโจทก์ในคดีนี้ก็มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน การยื่นฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 และไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 173(1) แม้โจทก์คนหนึ่งในคดีนี้จะเข้าแทนที่บิดาโจทก์ผู้มรณะในคดีก่อนนั้น
ก็ไม่มีผลให้โจทก์ในคดีนี้เป็นคู่ความในคดีก่อนด้วย
สรุปคำพิพากษา
·
ก. ฟ้อง ข.
ซึ่งเป็นบิดาของ ค. ให้รื้อถอนบ้านที่สร้างเป็นการละเมิด ข. ตาย ค.
เข้าแทนที่ผู้มรณะ
·
ศาลพิพากษาให้ ข.
ชนะคดี
·
ระหว่างคดีอยู่ในศาลฎีกา
ค. ได้ฟ้อง ก. ในนามส่วนตัวเป็นคดีครอบครองปรปักษ์
ศาลตัดสิน
ค. ที่เข้าเป็นคู่ความแทนที่ผู้มรณะ
ไม่ได้เข้ามาในนามของตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นกรณีคู่ความต่างคนกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
เจ้าของรวม
มาตรา
๑๓๕๙ เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ
อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก
แต่ในการเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนนั้น
ท่านว่าต้องอยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา ๓๐๒ แห่งประมวลกฎหมายนี้
สรุป
ตราบใดที่ยังไม่ได้แบ่งแยกกัน
ตราบนั้นเจ้าของรวมทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันในทุกอณูของทรัพย์นั้น ๆ
และการใช้สิทธิตามมาตรา ๑๓๕๙ เช่นเจ้าของรวมคนหนึ่งฟ้องคดีถือว่าฟ้องแทนเจ้าของรวมทุกคน
โดยไม่ต้องมีการมอบคดีแต่อย่างใด
ดังนั้นหากเจ้าของรวมคนอื่นมาฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งในระหว่างคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา
ในเรื่องเดียวกัน ก็เป็นฟ้องซ้อนได้—ทำได้ด้วยการร้องสอดเข้าไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๙๖๖/๒๕๑๘ โจทก์กับ ส.ท.ภ. และ ล.
มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน จำเลยเช่าที่ดินดังกล่าวจาก ส.ครบกำหนดแล้ว ส.
ฟ้องขับไล่จำเลยดังนี้ เป็นเรื่องที่ ส. เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนจาก
จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
1356,1359 ประกอบด้วยมาตรา 302 กล่าวคือเจ้าของรวมแต่ละคนมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนโดยไม่จำต้องให้เจ้าของ
รวมทุกคนร่วมกันฟ้อง และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมหมดทุกคน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องคดีแทนเมื่อ
ส. ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าแล้วและคดีอยู่ระหว่างพิจารณาโจทก์มาฟ้องขับ ไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีที่
ส. ฟ้องนั้นอีกจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
(ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนนี้ จำเลยมิได้ฎีกา
แต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง)
พิจารณาดังนี้
·
เจ้าของรวมคนหนึ่งให้จำเลยเช่าที่พิพาท
จำเลยผิดสัญญาเช่า เจ้าของรวมนั้นจึงฟ้องขับไล่จำเลย อ้างผิดสัญญาเช่า
·
คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา
โจทก์(เจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง) ฟ้องจำเลยอีกคดี ด้วยเหตุอย่างเดียวกัน
·
คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๙๕๒/๒๕๒๔ หญิงมีสามีฟ้องคดีภายหลังที่บทบัญญัติบรรพ
5
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้วอำนาจจัดการ
สินสมรสต้องใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ใหม่บังคับซึ่งมาตรา 1476
ได้บัญญัติให้สามีและภรรยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน
โจทก์ เป็นหญิงมีสามีได้ยื่นฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสโดยลำพังแต่ปรากฏใน
สำนวนว่าสามีโจทก์มาเบิกความเป็นพยานต่อศาลว่า "ได้ให้ความยินยอมแก่โจทก์ในการฟ้องคดีนี้ตามกฎหมายแล้วตลอดมา"
จึงถือได้ว่าสามีโจทก์อนุญาตหรือยินยอมให้โจทก์ฟ้องคดีโดยมีหลักฐานเป็น หนังสือในสำนวนความแล้วและถือได้ว่าเป็นการแก้ไขในเรื่องความสามารถของโจทก์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 แล้วด้วยโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลย ที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ขอให้ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายโดยรื้อถอนสิ่งปิดกั้นทางเดินทางเดียวกันกับคดี
นี้ขณะที่คดีดังกล่าวกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็นำเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องแย้งในคดีนี้อีกแม้คดีก่อนจำเลยที่
2 จะมิได้ร่วมเป็นโจทก์ด้วยแต่จำเลยที่ 2 ก็อยู่ในฐานะที่จะได้รับประโยชน์หรือโทษจากผลแห่งคำพิพากษาในคดีก่อนเช่น เดียวกับจำเลยที่
1 และการที่ฟ้องแย้งมีคำขอบังคับให้จดทะเบียนทางเดินเป็นทางภารจำยอมอันเป็นคำ
ขอให้บังคับเพิ่มเติมจากคดีก่อนประเด็นที่พิพาทกันในคดีก่อนกับที่จำเลยฟ้อง แย้งก็คงมีอยู่อย่างเดียวกันฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฟ้องซ้อนต้อง
ห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1)
พิจารณาดังนี้
· จำเลยที่
๑ ที่ ๒ และนาย ว. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกัน
· คดีแรก
จำเลยที่ ๑ ฐานะเจ้าของรวมเป็นโจทก์ฟ้อง ก. ให้ปฏิบัติตามสัญญาที่ดิน
ห้ามปิดกั้นทางภาระจำยอม และให้จดทะเบียนภาระจำยอมให้ด้วย
· คดีหลัง
นาย ก. จำเลยในคดีแรก กลับเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ ๑ โจทก์คดีแรกเป็นจำเลย
และฟ้องจำเลยที่ ๒ เจ้าของรวมเข้ามาอีกหนึ่งคน
· ในคดีหลัง
จำเลยที่ ๑ และ จำเลยที่ ๒
ได้ฟ้องแย้งกลับไปเหมือนกรณีคดีแรก
o การที่
ก. ฟ้องในคดีหลังไม่เป็นฟ้องซ้อนเพราะโจทก์คนละคนกัน
o ฟ้องแย้งของจำเลยที่
๑ ในคดีหลังเป็นฟ้องซ้อนแน่นอน
o สำหรับฟ้องแย้งของจำเลยที่
๒ เป็นฟ้องซ้อนเนื่องจากจำเลยที่ ๒ มีฐานะเป็นโจทก์ในคดีก่อนด้วยเช่นเดียวกัน
กล่าวคือจำเลยที่ ๑ ได้ใช้สิทธิแทนจำเลยที่ ๒ ไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๘๔/๒๕๕๓ เมื่อ
ด. ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมยื่นคำคัคค้านเข้าไปในคดีแพ่งที่จำเลย ยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์
โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกนั้นเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่ กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนตาม
ป.พ.พ. มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 ผลแห่งคดีตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดิน พิพาทเป็นของจำเลยย่อมต้องผูกพันถึงโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวม
การที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของโจทก์ทั้งห้ากับพวก
เท่ากับขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับพวกหรือ ของจำเลย
ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่าง เดียวกัน
เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และการที่ ด. ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของกองมรดกและศาล
ชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอื่นนั้น เป็นการที่ ด. ในฐานะเจ้าของรวมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด
เพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา
ของศาลชั้นต้นมูลฟ้องของโจทก์ทั้งห้าคดีนี้อาศัยข้ออ้างที่ว่าที่ดินพิพาท เป็นของกองมรดก
คำฟ้องที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องขึ้นมาใหม่ในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีแพ่งที่
ด. ฟ้องจำเลยเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง
(1)
พิจารณา
· เดิมคดีพิพาทมีชื่อเจ้ามรดกเป็นเจ้าของ
· คดีที่
๑
จำเลยยื่นคำร้องขอต่อศาลให้แสดงให้ทรัพย์สินของเจ้ามรดกเป็นของตนด้วยการครอบครองปรปักษ์
· ด.
ซึ่งเป็นทายาทได้ยื่นคัดค้าน ว่าจำเลยไม่เคยครอบครองปรปักษ์
คดีแรกอยู่ระหว่างพิจารณา
· คดีที่
๒ ด. ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยให้การว่า
ที่พิพาทเป็นของจำเลยด้วยการครอบครองปรปักษ์
· ประเด็นข้อแพ้ชนะ
อยู่กับคดีที่ ๑ ดังนั้น ศาลจึงจำหน่ายคดีที่ ๒ ชั่วคราว
· ศาลตัดสินให้จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท
คดีเป็นที่สุด
· คดีที่
๓ โจทก์ทั้ง ห้า
ทายาทของเจ้ามรดกฟ้องจำเลยให้พิพากษาว่าเป็นของจำเลยทั้งห้า
o คดีที่
๑ ด. ใช้สิทธิ์ครอบถึงเจ้าของรวมทุกคน (ดูมาตรา ๑๗๔๕)
ดังนั้นคำพิพากษาจึงผูกพันคู่ความทั้งหมด รวมถึงโจทก์ทั้งห้าด้วย
ดังนี้เมื่อจำเลยทั้งห้ามารื้อร้องฟ้องกันอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีที่ ๑
o คดีที่
๒ ที่ศาลได้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว (คดียังอยู่ในระหว่างพิจารณา) เป็นกรณี ด.
ใช้สิทธิแทนเจ้าของรวมทุกคน การที่โจทก์ทั้งห้า มาฟ้องเป็นคดีที่ ๓
ในระหว่างที่คดีที่ ๒ อยู่ในระหว่างพิจารณา จึงเป็นฟ้องซ้อน
หากเจ้าของรวมได้แบ่งแยกกันแล้วจะไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิแทนกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
๑๙๖๘-๑๙๖๙/๒๕๒๙ โจทก์ที่1และโจทก์ที่2เป็นเจ้าของที่ดินแปลงเดียวกันโดยยังมิได้แบ่งแยกเป็น
หลายโฉนดเพราะอยู่ในระหว่างการรังวัดแบ่งแยกของเจ้าพนักงานที่ดินเท่านั้น โจทก์ที่1จึงฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ที่1ต่อมา เจ้าพนักงานที่ดินได้แบ่งแยกออกโฉนดที่ดินส่วนของโจทก์ที่2ให้แก่โจทก์ ที่2ปรากฏว่าที่พิพาทและบ้านของจำเลยส่วนใหญ่อยู่ในที่ดินของโจทก์ที่2โจทก์ ที่2จึงฟ้องจำเลยหลังจากได้รับโฉนดที่ดินมาแล้วและปรากฏว่าที่พิพาทบางส่วน
อยู่ในโฉนดของโจทก์ที่1บางส่วนอยู่ในโฉนดของโจทก์ที่2โจทก์ทั้งสองต่างมี สิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้ฟ้องของโจทก์ที่2จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173. โจทก์ที่ 2
ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกตกทอดมายังโจทก์ที่ 2 ตาม พินัยกรรมและเรียกค่าเสียหายที่จำเลยอยู่ในที่พิพาทของโจทก์ที่
2 โดยละเมิด กรณีมิใช่ฟ้องเรียกที่พิพาทตามข้อกำหนดในพินัยกรรมทั้งจำเลยก็มิใช่บุคคลที่จะยกอายุความ
1 ปีขึ้นต่อสู้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1755 แม้ โจทก์ที่ 2 จะฟ้องคดีเกิน 1 ปีหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่กรรมคดีของโจทก์ที่ 2 ก็ไม่
ขาดอายุความ.
แยกพิจารณาได้ดังนี้
-
ที่ดินเป็นที่ดินกรรมสิทธิ์รวมกันของโจทก์ที่
๑ และโจทก์ที่ ๒
-
ต่อมาได้มีการรางวัดออกโฉนด
แบ่งกรรมสิทธิ์กันอย่างชัดเจน
-
โจทก์ที่ ๑
ได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินส่วนของโจทก์ที่ ๑
-
ต่อมาโจทก์ที่ ๒
ได้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินส่วนที่ ๒
ดังนี้ ไม่เป็นฟ้องซ้อน
เพราะเป็นการอาศัยสิทธิคนละสิทธิกัน ไม่ได้เป็นสิทธิเดียวกัน และโจทก์ก็คนละคนกัน
ผู้จัดการมรดก
เป็นตัวแทนตามกฎหมายของทายาท—ดังนั้นจึงเป็นการกระทำแทนทายาท
(หากเป็นเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์มรดก) ดังนี้ทายาทจะมาฟ้องจำเลย
ในประเด็นเดียวกันอีกไม่ได้ เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๕๘๘/๒๕๒๓ คดีแรก อ.อ้างว่าเป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ.
ได้ฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1 ออกจากที่เช่าซึ่งเป็นที่ดินมรดกศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
เพราะไม่เชื่อว่าพินัยกรรมที่ อ.อ้างเป็นพินัยกรรมที่ ฉ.ทำขึ้น อ. จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ขณะคดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทของ ฉ. มาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่พิพาทอีก
ที่ อ. ฟ้องคดีแรกนั้นถือได้ว่ากระทำไปในฐานะตัวแทนของทายาทของ ฉ. หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นตัวแทนของโจทก์นั่นเอง
เพราะฉะนั้นฟ้องสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องเรื่องเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 173(1) แม้คดีนี้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 สามีของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์
กลับกลายเป็นฟ้องที่ไม่ต้องห้ามไปได้
พิจารณาดังนี้
·
อ. ฐานะผู้จัดการมรดก
ฉ. ได้ฟ้องขับไล่จำเลยที่ ๑ คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์
·
โจทก์ทายาทมีสิทธิรับมรดกของนาย
ฉ. ได้ยื่นฟ้องขับไล่ จำเลยที่ ๑ และจำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นบริวารอาศัยสิทธิจำเลยที่
๑
·
ศาลฎีกา อ.
ฟ้องในฐานะตัวแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ดังนั้นเมื่อเป็นเรื่องเดียวกัน
ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อน
o
กรณีจำเลยที่ ๒
ซึ่งไม่เคยถูกฟ้อง “การฟ้องซ้อนยังห้ามฟ้องรวมตลอดถึงบุคคลผู้อาศัยสิทธิของจำเลยเดิมด้วย”
ดังนั้นแม้ไม่ได้มีการฟ้องจำเลยที่ ๒ ก็ไม่ทำให้ฟ้องจำเลยที่ ๒ ไม่เป็นฟ้องซ้อน “ฟ้องบริวารก็เป็นฟ้องซ้อน”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๐๒/๒๕๒๔
ผู้จัดการมรดกในฐานะตัวแทนของทายาทรวมทั้งโจทก์ในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องขับไล่
จำเลยทั้งสี่ออกจากที่พิพาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ในคดีนี้มาฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสี่ออกจากที่พิพาทเดียวกันอีก
ฟ้องทั้งสองจึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน เพราะสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับเป็นอย่างเดียวกัน
จึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173
พิเศษกรณีฟ้องส่วนตัวโดยแท้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
๓๑๔๖/๒๕๓๓ ท.
ทายาทของเจ้ามรดกคนหนึ่งเคยฟ้องจำเลยขอให้พิพากษาว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
คดีอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกแทนที่ทายาทอีกคนหนึ่งมาฟ้องคดีนี้ขอให้
พิพากษาว่าพินัยกรรมฉบับเดียวกันนั้นเป็นโมฆะอีกเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏ ว่า ท. เป็นผู้จัดการมรดกของเจ้ามรดกอันจะถือว่ากระทำในฐานะตัวแทนทายาททั้งหมดรวม
ทั้งโจทก์ด้วยแล้วโจทก์ย่อมไม่ใช่โจทก์คนเดียวกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
พิจารณา
·
คดีก่อน ท.
ฟ้องจำเลยว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ
ไม่ปรากฏว่าโจทก์คดีหลังเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วย—การฟ้องว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะไม่ถือว่าเป็นการฟ้องแทนทายาทคนอื่นด้วย
ถือเป็นการฟ้องส่วนตัวโดยแท้จริง
·
โจทก์อีกคน (ทายาท)
มาฟ้องอีกจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
ร้องสอด
บุคคลภายนอกคดีเข้ามาเป็นคู่ความในคดี
อาจเพิ่มคนหรือเพิ่มฝ่ายก็ได้ และอาจเป็นการฟ้องซ้อนได้
หากคำร้องสอดมีสภาพเป็นคำฟ้องตามมาตรา ๑(๓) ในฐานะเป็นโจทก์
การร้องสอดอาจเป็นฟ้องซ้อนกับฟ้องเดิมที่ได้ยื่นฟ้องไว้แล้วเช่น
ยื่นฟ้องคดีโดยเริ่มต้นคดี ฟ้องแย้ง เป็นต้น หรืออาจเป็นการร้องสอดไว้แล้ว
และได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งไปอีกในประเด็นเดียวกันอีกก็ได้ เช่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๓๑๒๙/๒๕๒๔ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์แล้วผิดสัญญาไม่ชำระ
ค่าเช่า โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแล้วขอให้ขับไล่จำเลยและบริวาร ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่าผู้ร้องเป็นภรรยาของจำเลย
ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นสินสมรสผู้ร้องมีส่วนเป็นเจ้าของครึ่งหนึ่ง จำเลยนำไปขายฝากโดยผู้ร้องไม่ทราบ
เมื่อผู้ร้องทราบได้ฟ้องจำเลยขอให้ลงชื่อผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดิน พิพาทคดีอยู่ระหว่างพิจารณา
ก่อนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทจะหลุดเป็นสิทธิแก่โจทก์ผู้ร้องได้ขอไถ่การ ขายฝากแต่โจทก์ไม่ให้ไถ่
ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์และจำเลยว่าสมคบกันไม่ยอมให้ผู้ร้องไถ่ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณา
และที่จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์เป็นการฉ้อฉลโดยจำเลยมีเจตนาจะให้ผิดสัญญา เพื่อโจทก์จะได้ฟ้องขับไล่จำเลยกับบริวารคือผู้ร้อง
จึงขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยเพื่อขอให้ศาลรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา
57(1) คำร้องสอดของผู้ร้องดังกล่าวเป็นการตั้งสิทธิเข้ามาในฐานะเป็นคู่ความฝ่าย
ที่สาม เป็นปฏิปักษ์แก่ทั้งโจทก์และจำเลย หาใช่เข้ามาเพียงเป็นจำเลยต่อสู้คดีกับโจทก์โดยเฉพาะไม่ซึ่งถ้าศาลรับคำร้อง
สอดไว้ โจทก์จำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอด คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง
และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ ทั้งสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์จำเลยโต้แย้งนี้
ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์จำเลยต่อศาลไว้ก่อน คดีอยู่ระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา173 (1)
พิจารณา
·
จำเลยนำที่ดินไปขายฝากให้โจทก์โดยมิให้ภริยารู้
แล้วเช่าที่ดินดังกล่าวต่อ
·
จำเลยไม่ไถ่ที่พิพาทจึงตกเป็นของโจทก์
·
คดีแรก
ผู้ร้องภริยาจำเลย ฟ้องว่า โจทก์-จำเลยสมคบกันฉ้อฉล ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล
คดีอยู่ระหว่างพิจารณา
·
คดีหลัง
โจทก์ซึ่งรับซื้อฝาก ได้ฟ้องจำเลยผู้เช่าและให้ขับไล่บริวารออกจากที่พิพาท
o ผู้ร้องจึงร้องสอดเข้ามาในคดีหลัง
ขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล (เหมือนคดีแรก)
·
คำร้องสอดเป็นคำฟ้องหรือไม่
?
o คำร้องสอดเป็นการอ้างสิทธิในฐานะคู่ความฝ่ายที่สาม
โจทก์จำเลยต้องให้การแก้คดี จึงมีฐานะเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องสอดมีฐานะเป็นโจทก์
และเมื่อได้ยื่นฟ้องคดีเอาไว้และอยู่ในระหว่างพิจารณาจึงเป็น “ฟ้องซ้อน”
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
๑๒๒/๒๕๔๒ ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดว่า ผู้ร้องได้ซื้อและครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาท
และได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีแพ่ง ขอให้บังคับโจทก์และจำเลยในคดีนี้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาทให้
แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึง เป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีเหตุจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง
คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่เป็นการตั้งสิทธิขึ้นมาใหม่เพื่อ พิพาทกับคู่ความเดิมจึงเป็นการร้องสอดเข้ามาตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) ผู้ร้องมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่า
ตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดี เรื่องใหม่ ตามมาตรา 58 วรรคแรก
และคำร้องสอด ดังกล่าวถือว่าเป็นคำฟ้องตามมาตรา 1(3) ปรากฏว่า
ก่อนยื่นคำร้องสอดคดีนี้ ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องโจทก์และจำเลย ในคดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลเดียวกันนี้อ้างว่า
ผู้ร้องได้ซื้อ และครอบครองเป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทอยู่ในปัจจุบัน ขอให้ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์คันพิพาท
ให้แก่ผู้ร้อง อันเป็นประเด็นเดียวกับที่ร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ เมื่อคดีที่ผู้ร้องได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนนั้นยังอยู่ในระหว่าง
พิจารณา จึงห้ามมิให้ผู้ร้องยื่นคำฟ้องเรื่อง เดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น
ตามมาตรา 173(1) การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน
ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
พิจารณา
· คดีแรก
ผู้ร้องฟ้องโจทก์-จำเลย
เป็นจำเลยด้วยกันขอให้โจทก์-จำเลย โอนรถให้ผู้ร้อง คดีอยู่ระหว่างพิจารณา
· คดีหลัง
โจทก์ได้ฟ้องจำเลย พิพาทกันว่ารถเป็นของใคร ผู้ร้องได้ร้องสอดเข้ามาเนื้อหาเหมือนคดีแรก
· ศาลฎีกา
o ผู้ร้องสอดเข้ามามีฐานะเป็นคำฟ้อง
เมื่อคดีเดิมยังอยู่ในระหว่างพิจารณา จึงเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๙๓๕/๒๕๔๐ การที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านในคดีก่อนก็เพราะจำเลยซึ่งเป็นผู้ร้องในคดี
ก่อนนำคำสั่งศาลไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียนเป็นชื่อจำเลยเป็นการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำ
สั่ง หากเจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการให้ย่อมจะมีความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้มี ชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว
โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น ทั้งถูกโต้แย้งสิทธิ
โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอเข้าไปในชั้นบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา
57(1)และคดีก่อนโจทก์ไม่ได้ร้องคัดค้านเข้าไปในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำ
สั่งแสดงกรรมสิทธิ์โจทก์จึงเป็นบุคคลภายนอกสามารถและพิสูจน์ในชั้นบังคับคดี ได้ว่า
โจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลยคำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อนที่แสดง กรรมสิทธิ์ที่ดินไม่ผูกพันโจทก์
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2)โดยไม่ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่
คำร้องขอของโจทก์ในคดีก่อนเป็นคำฟ้อง และแม้ในคดีก่อนศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์
แต่โจทก์ก็ยังฎีกาคัดค้านต่อศาลฎีกาคดีก่อนจึงยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ศาลฎีกา
การที่โจทก์มาฟ้องขับไล่่จำเลยเป็นคดีนี้ ซึ่งคดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลัก
แห่งข้อหาว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทจำเลยเป็นบริวารของผู้เช่า ซึ่งมีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ
โจทก์หรือของจำเลย ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 173(1)
พิจารณา
· จำเลยยื่นคำร้องขอเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท
ศาลให้ชนะ ระหว่างบังคับคดี
· โจทก์คัดค้านในชั้นบังคับคดี
ว่าจำเลยไม่มีสิทธิ คำร้องของโจทก์มีฐานะเป็นอะไร ศาลฎีกาบอกว่า
โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียจึงมีสิทธิร้องขอมาได้ตาม ๕๗(๑) จึงมีฐานะเป็นคำฟ้อง
· โจทก์มาฟ้องขับไล่อีกคดีโดยข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเหมือนกัน
· จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำร้องสอด
กรณีศาลเรียกเข้ามาตามมาตรา
๕๗(๓)
ไม่ว่าจะถูกเรียกเข้ามาในฐานะไหนไม่มีทางเป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๓๗/๒๕๑๙
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2
ต่อศาลขอแบ่งมรดก คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคนละคนกัน จำเลยที่ 2
เข้ามาเป็นจำเลยในคดีนี้ก็ด้วยการที่ศาลเรียกให้เข้ามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 57(3) ฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
การบังคับคดีแก่บริวารจำเลย
การร้องขอให้บังคับคดีแก่บริวารไม่ใช่การฟ้องคดีแต่เป็นการบังคับตามคำพิพากษาดังนั้นหากโจทก์ได้มาฟ้องคดีจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่
๘๑๙/๒๕๓๓
จำเลยฟ้อง
ป. เป็นจำเลยต่อศาลว่า ป. ทำสัญญาให้จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทแล้วไม่จดทะเบียนการเช่าให้
ขอให้พิพากษาบังคับให้ ป. จดทะเบียนการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่จำเลยซึ่งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีดังกล่าว
แม้ศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่เป็นการห้ามมิให้โจทก์ซึ่งรับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทจาก
ป. ฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว โจทก์ฟ้องขับไล่
อ. ออกจากตึกแถวพิพาท เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อศาลว่าจำเลยเป็นบริวารของ
อ. ขอให้ออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาท จำเลยยื่นคำร้องคัดค้านว่า
จำเลยได้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ป. และศาลพิพากษาให้ ป. จดทะเบียนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลยแล้วจำเลยไม่ใช่บริวารของ
อ. การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีให้จำเลยออกจากตึกแถวพิพาท โดยอ้างว่าจำเลยเป็นบริวารของ
อ. ในคดีดังกล่าว และศาลก็ยังไม่มีคำสั่งชี้ขาดว่าจำเลยเป็นบริวารของ อ. หรือไม่ มิใช่เป็นการยื่นฟ้องคดีต่อศาล
ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของตึกแถวพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิอยู่ในตึกแถวดังกล่าวขอให้ขับไล่
จึงมิใช่เป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับคดีดังกล่าวคดีนี้จึงไม่เป็น ฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว
จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตลอดเวลา ที่จำเลยยังอยู่ในตึกแถวของโจทก์
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายนับถึงวันฟ้องเป็นเวลา 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
ดูประดับความรู้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๗๑/๒๕๕๐ ชั้นบังคับคดีในคดีก่อนเป็นคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนี้ในฐานะผู้ร้อง
ยื่นคำร้องว่าไม่ใช่บริวาร โจทก์กับจำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ทั้งคดีก่อนและคดีนี้ต่างมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาเกี่ยวกับสิทธิครอบครอง
ในที่ดินพิพาทเช่นเดียวกัน ซึ่งคดีก่อนศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นการที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทอีก
ในประเด็นเดียวกันย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 วรรคหนึ่ง
หมายเหตุผู้จัดทำ
เอกสารชุดนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่คำบรรยายกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
หากมีความผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำ (นายแมงมุม) ขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
และขอขอบคุณ ศ.สมชาย พงษธา อาจารย์ผู้บรรยายวิชานี้
โหลดเป็นไฟล์สมบูรณ์ได้ที่ http://lspklawcenter.blogspot.com/p/blog-page.html
โหลดเป็นไฟล์สมบูรณ์ได้ที่ http://lspklawcenter.blogspot.com/p/blog-page.html